Hand Made Form "วัชพืชน้ำ" สู่ผลิตภัณฑ์ระดับประเทศ
ลดปริมาณวัชพืช "ผักตบชวา" นำมาสร้างรายได้
ผักตบชวาจัดเป็น "เอเลี่ยน สปีชีส์" หรือ "ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น" ที่เข้ามาแพร่ระบาดรุกรานจนสร้างความเสียต่อระบบนิเวศในไทย ก่อให้เกิดน้ำเน่าเสียและกีดขวางทางน้ำ เนื่องจากสามารถขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว โดยผักตบชวาเพียง 1 ตัน สามารถแพร่พันธุ์ได้ถึง 1,000 ต้น ในเวลา 1 เดือน
เนื่องจากกว๊านพะเยามีปริมาณผักตบชวาเป็ฯจำนวนมาก ชาวจังหวัดพะเยาจึงเล็งเห็นประโยชน์ของผักตบชวา โดยการนำมาสานเป็นกระเป๋ารูปแบบต่างๆ หรือเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อสร้างรายได้ให้แก่ชาวบ้าน และหนึงในนั้นคือ "ลินชา"
ประวัติความเป็นมาของลินชวา
เริ่มจาก นายรุ่งนที คำเรืองฤทธิ์ ลาออกจากการเป็นวิศวะกรโรงงาน กลับมาอยู่บ้านกับครอบครัว มาเห็นกระเป๋าผักตบชวา ที่ป้าๆ ในหมู่บ้านสานกันแค่ 3 คน จึงเข้าไปนั่งคุยกับป้าๆ ถึงสิ่งที่กำลังทำอยู่ว่า ที่แท้จริง คือ วิถีชีวิตของคนหล่ายกว๊านพะเยา ที่ทำมานานแล้ว คือการเอาผักตบชาวา ที่เป็นวัชพืช ในกว๊านมาสานเป็นของใช้ เช่น ตะกร้าใส่ของไปวัด จนปัจจุบันพัฒนามาเป็นกระเป๋า และเริ่มสานกระเป๋าขาย เมื่อเริ่มแรกกลุ่มมี 30 คน แต่ไม่มีตลาดรองรับ ลูกค้ายังเข้าไม่ถึง มันทำให้เกิดแนวคิดทำการตลาดให้กับป้าๆ ในหมู่บ้าน เพื่อสร้างรายได้เสริมให้กับคนในชุมชน และอนุรักษ์ภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีมานาน จนปัจจุบันมีสมาชิก 26 คน และปัจจุบันลินชวา มีการออกแบบกระเป๋าแบบใหม่ๆ และตกแต่งกระเป๋าตามแบบที่ลูกค้าต้องการ มีกลุ่มลูกค้าตั้งแต่อายุ 18-60 ปีเอกลักษณ์/จุดเด่นผลิตภัณฑ์
1. เป็นวัสดุจากธรรมชาติและมีอยู่ในท้องถิ่น
2. รูปแบบทันสมัย ทั้งที่เป็นงานหัตถกรรม ประดิษฐ์โดยฝีมือชาวบ้าน
3. มีการนำเอาภูมิปัญญาดังเดิมมาปรับปรุงให้เข้ากับยุคสมัย ทำให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ
4. ฝีมือประณีต สีและลวดลายทันสมัย
กระเป๋าสานจากผักตบชวาเป็น green crafts หรือเป็นผลิตภัณฑ์หัตถกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพราะเมื่อเจริญเติบโตง่ายและเร็ว ที่สำคัญคือหากไม่เก็บผักตบชวา ผักตบชวาจะตายยกกอและกลายเป็นวัชพืช
นอกจากจะมีกระเป๋ารูปทรงต่างๆแล้ว ทางลินชวายังมีการ ทำประถางต้นไม้รูปทรงต่างๆที่สวยงาม จากผักตบชวาอีกด้วย ซึ่งสามารถนำมาตกแต่งในบ้านให้สวยงามได้ และมีเอกลักษณ์
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น